สระไทย
สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้
รูปสระ
รูปสระในภาษาไทยมี ๒๑ รูปดังนี้- ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์
- ั เรียกว่า ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
- ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้
- า เรียกว่า ลากข้าง
- ิ เรียกว่า พินทุ หรือ พิทุอิ
- ่ เรียกว่า ฝนทอง
- ่ ่ เรียกว่า ฟันหนู
- ํ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
- ุ เรียกว่า ตีนเหยียด
- ู เรียกว่า ตีนคู้
- เ เรียกว่า ไม้หน้า
- ใ เรียกว่า ไม้ม้วน
- ไ เรียกว่า ไม้มลาย
- โ เรียกว่า ไม้โอ
- อ เรียกว่า ตัวออ
- ย เรียกว่า ตัวยอ
- ว เรียกว่า ตัววอ
- ฤ เรียกว่า ตัว ฤ (รึ)
- ฤๅ เรียกว่า ตัว ฤๅ (รือ)
- ฦ เรียกว่า ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
- ฦๅ เรียกว่า ตัว ฦๅ (ลือ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
เสียงสระ
เสียงสระในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง ดังนี้
ะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ เเอะ เเอ เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ อำ ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น