วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การศึกษา 21st century

การศึกษา 21st century
ศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่
1.มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะ ของตน
2.ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการ ของตน
3.ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
4.เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร
5.ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้ และชีวิตทางสังคม
6.การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
7.ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
8.สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต
ปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ 5 ประการคือ
1.Authentic learningb  การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริงดังนั้น ครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด
2.Mental Model Building  การอบรมบ่มนิสัย หรือการปลูกฝังความเชื่อหรือค่านิยมในถ้อยคำเดิมของเรา แต่ในความหมายข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสม
3. Internal Motivation การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคนไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครูหรือพ่อแม่ เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครูหรือพ่อแม่จะเรียนได้ไม่ดีเท่าเด็กที่เรียนเพราะอยากเรียน
4. Multiple Intelligence  เด็กแต่ละคนมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่างกัน รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว
5. Social Learning  การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ ครูเพื่อศิษย์ก็จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิดนิสัยรักการเรียน

ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทยในศตวรรษที่ 21
                ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” คือ ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ครูต้องตอบได้ว่า ศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้เรียนสิ่งเหล่านั้น ครูต้องทำอะไร ไม่ทำอะไร ในสภาพเช่นนี้ ครูยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น และท้าทายครูทุกคนอย่างที่สุดที่จะไม่ทำหน้าที่ครูผิดทางคือ ทำให้ศิษย์เรียนไม่สนุก หรือเรียนแบบขาดทักษะสำคัญ
สาระวิชาหลัก
-ภาษาแม่ และภาษาโลก
-ศิลปะ
-คณิตศาสตร์
-เศรษฐศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-ภูมิศาสตร์
-ประวัติศาสตร์
-รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
หัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
-ความรู้เกี่ยวกับโลก
-ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
-ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
-ความรู้ด้านสุขภาพ
-ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
-ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
-การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
-การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
-ความรู้ด้านสารสนเทศ
-ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
-ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและอาชีพ
-ความยืดหยุ่นและปรับตัว
-การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
-ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
-การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้ (accountability)
-ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)
          ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีทักษะของการเรียนรู้ด้วย และในขณะเดียวกันก็ต้องมีทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งไม่เหมือนการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๐ หรือ ๑๙ ทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C3R ได้แก่
3R ได้แก่ 
               Reading (อ่านออก)
               (W)Riting (เขียนได้)
               (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
               Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
               Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
               Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
               Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
               Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
               Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

พัฒนาสมองห้าด้าน
1.สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) หมายถึงมีความรู้และทักษะในวิชาในระดับที่เรียกว่าเชี่ยวชาญ (master) และสามารถพัฒนาตนเองในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
2.สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ ปฏิบัตินำ ทฤษฎีตาม
3.สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind)โดยคุณสมบัติสำคัญที่สุดของสมองสร้างสรรค์คือ คิดนอกกรอบ แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งได้ต้องเก่งความรู้ในกรอบเสียก่อน แล้วจึงคิดออกไปนอกกรอบนั้น
4.สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) มีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนเคลื่อนไหวเดินทางและสื่อสารได้ง่าย  คนเราจึงต้องพบปะผู้อื่นจำนวนมากขึ้นอย่างมากมาย และเป็นผู้อื่นที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านกายภาพ นิสัยใจคอ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเป็นคนที่สามารถคุ้นเคยและให้เกียรติคนที่มีความแตกต่างจากที่ตนเคยพบปะได้
5.สมองด้านจริยธรรม (ethical mind)  สมองด้านจริยธรรมได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลามาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เรื่อยมาจนโต
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
             ทุกคนต้องเรียนเพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น  ประกอบด้วยทักษะย่อยๆ ดังต่อไปนี้
              ๑. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการแก้ปัญหา(problem solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (expert thinking)
              ๒. การสื่อสาร (communication) และความร่วมมือ (collaboration)ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (complex communicating)
              ๓. ความริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation)ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
              ต้องแสวงหาวิธีการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์ (ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม) พัฒนาทักษะนี้ รวมทั้งครูก็ต้องฝึกฝนทักษะนี้ของตนเองด้วย ซึ่งการเรียนแบบ PBL ที่ครูเก่งด้านการชวนศิษย์ทบทวนไตร่ตรอง (reflection หรือ AAR) บทเรียน การตั้งคำถามของครูที่ให้เด็กคิดหาคำตอบที่มีได้หลายคำตอบ จะทำให้ศิษย์เกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
              -ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Literacy)
              -ทักษะด้านสื่อ (Media Literacy Skills)
              -ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)

ทักษะด้านความเป็นนานาชาติ
                ต้องฝึกทักษะด้านความเป็นนานาชาตซึ่งจะช่วยสร้างความเป็นนานาชาติให้แก่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยด้วย ปัจจุบันเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้นจะช่วยให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้แก่ศิษย์ ให้มีทักษะความเป็นนานาชาติได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีครูชาวต่างประเทศ
ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต
                โดยเรียนตามพัฒนาการของสมอง ครูจะต้องเรียนรู้วิธีการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้แก่ศิษย์แต่ละกลุ่มอายุและตามพัฒนาการของสมองเด็กแต่ละคน   เพราะทักษะกลุ่มนี้สอนไม่ได้ เด็กต้องเรียนเอง และครูยิ่งต้องทำงานหนักขึ้นในการคิดค้นหาวิธีออกแบบการเรียนรู้

แนวคิดการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
สอนน้อย เรียนมาก
                เป็นอุดมการณ์ด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าครูทำงานน้อยลงแต่ความจริงกลับต้องทำงานหนักขึ้น เพราะต้องคิดหาวิธีให้นักเรียนเรียนได้มากขึ้น คือ ครูสอนน้อยลง แต่หันไปทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ ชักชวนนักเรียนทบทวนว่าในแต่ละกิจกรรมของการเรียนรู้

การเรียนรู้อย่างมีพลัง
                จักรยานแห่งการเรียนรู้ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ Define, Plan, Do และ Reviewวงล้อมี ๒ วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู หลักสำคัญคือ วงล้อจักรยานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนกับครูต้องไปด้วยกันอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน มาประกอบเข้าเป็น จักรยานแห่งการเรียนรู้แบบ PBL
                -Define คือ ขั้นตอนการทำให้สมาชิกของทีมงาน ร่วมทั้งครูด้วยมีความชัดเจนร่วมกันว่า คำถาม ปัญหา ประเด็น
                -Plan คือ การวางแผนการทำงานในโครงการ ครูก็ต้องวางแผน กำหนดทางหนีทีไล่ในการทำหน้าที่โค้ช รวมทั้งเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำโครงการของนักเรียน และที่สำคัญ เตรียมคำถามไว้ถามทีมงานเพื่อกระตุ้นให้คิดถึงประเด็นสำคัญ
               - Do คือ การลงมือทำ
               - Review ที่ทั้งทีมนักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่ทบทวนว่า โครงการได้ผลตามความมุ่งหมายหรือไม่

จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
ความจริงเกี่ยวกับการคิด 3 ประการ ที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิมได้แก่
          1. การคิดทำได้ช้า
          2. การคิดนั้นยาก ต้องใช้ความพยายามมาก
          3. ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าจะถูกต้อง
ความจำเป็นผลของการคิด
          1.การกระทบอารมณ์อย่างรุนแรงทั้งด้านสุขและด้านทุกข์ ช่วยให้เกิดการจำ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าต้องมีการกระทบอารมณ์จึงจะจำ
          2. การทำหรือประสบการณ์ซ้ำ ๆ จะช่วยให้จำได้ดีขึ้น แต่ไม่เสมอไป
          3.ความต้องการที่จะจำ แต่บ่อยครั้งที่ลืม ทั้ง ๆ ที่ต้องการจำ
          4.การคิดถึงความหมายที่ถูกต้องต่อบริบทการเรียนรู้นั้น ๆ วิธีการหนึ่งคือ ใช้โครงสร้างของเรื่อง (story structure) ในการออกแบบ
          5.การเรียนรู้ และการเดินเรื่องให้นักเรียนคิดตรงตามความหมายที่ต้องการให้เรียนรู้
วิธีทำให้ศิษย์เรียนรู้ได้อย่างดี
                 - คิดออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้ของศิษย์ (ไม่ใช่ขั้นตอนการสอนของครู) ไว้อย่างดี ให้นักเรียนคิดในแนวทางที่ต้องการให้เรียนรู้
                 -ชวนนักเรียนคิดถึงคุณค่าหรือความหมายของบทเรียนนั้น ๆ96 วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑
                 -ใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง สะเทือนอารมณ์ด้วย 4C ได้แก่ความบังเอิญ (casuality) ความขัดแย้ง (conflict) ความสลับซับซ้อน (complication) และการมีบุคลิก (character) น่าสนใจ จำง่าย สั้นกระชับ

บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้
            หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนจากเรียนรู้จากฟังครูสอน (Learning by Attending Lecture/Teaching) มาเป็น เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing)
บทบาทของครูที่เปลี่ยนไป ที่จะต้องเน้นให้แก่ศิษย์ ได้แก่
- เน้นให้ศิษย์เรียนรู้จากการลงมือทำใน PBL (Project-Based Learning)
- ส่งเสริมแรงบันดาลใจและให้กำลังใจ (reinforcement) ในการเรียนรู้
- ส่งเสริมและสร้างสรรค์จินตนาการ
-ส่งเสริมให้กล้าลองและลงมือทำ
- เป็นครูฝึกใน PBL
- ออกแบบ PBL
- มีทักษะในการชวนศิษย์ทบทวนไตร่ตรอง (Reflection) จากประสบการณ์ใน PBL
- ชวนทำความเข้าใจคุณค่าของประสบการณ์จากแต่ละ PBL 

เรื่องเล่าตามบริบท :จับความจากยอดครูมาฝากครูเพื่อศิษย์
1.เตรียมทำการบ้านเพื่อการเป็นครู  การสอนที่ได้ผลเป็นเรื่องของจิตวิทยา (psychology)มากกว่าการเรียนการสอน (pedagogy) ดังที่ผู้เขียนเคยได้รับคำบอกจากศิษย์คนหนึ่งว่า “ครูสามารถกำหนดให้นักเรียนนั่งถือหนังสือห่วยๆ ได้ทั้งวันแต่จะไม่มีวันบังคับให้นักเรียนอ่านหนังสือนั้นได้”
2.ให้ได้ความไว้วางใจจากศิษย์   ครูต้องมีวิธีสร้างความเชื่อมั่นในศิษย์ว่าสามารถบรรลุความสำเร็จที่ มุ่งหวังได้ หากมีอิทธิบาท 4 บางคนอาจต้องมีความเพียรสูงกว่า แต่ไม่ว่าจะสำเร็จได้ง่ายหรือยาก ครูจะอยู่เคียงข้างเสมอ สร้างแรงบันดาลใจด้วยศรัทธาในตนเอง
3.สอนศิษย์กับสอนหลักสูตรแตกต่างกัน  การตะลุยสอนให้ครบตามหลักสูตรไม่ใช่กิจของครูที่ดี หรือครูเพื่อศิษย์  คือเพียงแค่สอนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตร ไม่ได้พิจารณาหรือเน้นที่การเรียนรู้ของศิษย์
4.ถ้อยคำที่ก้องอยู่ในหูเด็ก   จงระมัดระวังคำพูด คำพูดของครูอาจก้องอยู่ในหูเด็กไปชั่วชีวิต
5.เตรียมตัว เตรียมตัว และเตรียมตัว  ครูต้องเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม ๒ - ๓ สัปดาห์ เพื่อให้ตนเองพร้อมที่สุดกับการจัดการชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าสู่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายใน ๒ - ๓ วันแรก มิฉะนั้น สภาพการเรียนของ
นักเรียนในชั้นอาจเละเทะไปตลอดปี
6.จัดเอกสารและเตรียมตนเอง  การเตรียมตัวจัดระบบเอกสารช่วยให้ครูมีระบบ ไม่ต้องพึ่งความจำมากเกินไป และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.ทำสัปดาห์แรกให้เป็นสัปดาห์แห่งความประทับใจ  เลิกทำตัวเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับนักเรียน นี่คือ หัวใจของการเป็นครู อย่าใช้หลักการของครูฝึกทหาร ที่ใช้หลักเอาทหารใหม่ไว้ใต้บาทาเพื่อรักษาวินัย ครูต้องใช้ความรักความเมตตานำ แต่เจือด้วยความเด็ดขาด
8.เตรียมพร้อมรับ “การทดสอบครู”และสร้างความพึงใจแก่ศิษย์  นักเรียนเป็นคน คนคือสิ่งมีชีวิตที่คาดเดาพฤติกรรยาก ยิ่งวัยเรียนเป็นวัยที่คาดเดาพฤติกรรมได้ยากกว่า ครูจึงต้องเตรียมพร้อมเผชิญพฤติกรรมแปลก ๆ ซึ่งบางกรณีเป็นการท้าทายความสามารถของครู
9.วินัยไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ  วินัยมี ๒ ด้าน คือ วินัยเชิงบวกกับวินัยเชิงลบ ที่น่าเสียดายคือ โรงเรียนมักจะติดการใช้วินัยเชิงลบคือ ใช้บังคับและลงโทษ แทนที่จะใช้วินัยเชิงบวก เพื่อให้อิสระและความรู้สึกปลอดภัยแก่เด็ก รวมทั้งเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ทักษะชีวิต วินัยเชิงลบจะสร้างความรู้สึกต่อต้านในใจเด็ก และจะยิ่งยุให้เด็กทำผิดหรือท้าทาย เกิดเป็นวงจรชั่วร้ายในชีวิตเด็ก ทำให้เด็กเบื่อเรียนและเสียคน
10.สร้างนิสัยรักเรียน  หน้าที่ของ “ครูเพื่อศิษย์” คือ นำชีวิตของนักเรียนเข้าสู่ความสนุกสนานในการเรียน (The Joy of Learning) ซึ่งจะทำให้มีนิสัยรักเรียนอย่าปล่อยให้ศิษย์ตกอยู่ใต้สภาพความทุกข์ระทมในการเรียนซึ่งจะทำให้มีนิสัยเกลียดการเรียน
11.การอ่าน   ธรรมชาติของเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากประสบความสำเร็จ และการอ่านได้เป็นสิ่งหนึ่งที่ตอบสนองจิตวิทยาข้อนี้แต่เด็กหลายคนตกเป็นเหยื่อของการบังคับ การทำให้การอ่านเป็นเรื่องน่าเบื่อ หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ตนเองต่ำต้อยน้อยหน้าเพราะอ่านไม่เก่งเท่าคนอื่นทำให้เกิดจิตใต้สำนึกที่เกลียดการอ่าน
12.ประหยัดเวลาและพลังงาน  เคล็ดลับในการประหยัดพลังงานและเวลาของครูคือ การจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยที่ครูไม่เหนื่อยเกินไปจะหมดไฟ

มองอนาคต...ปฏิรูปการศึกษาไทย
               Inquiry-Based Learning   เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนตั้งคำถาม ทำความชัดเจนของคำถาม แล้วดำเนินการหาคำตอบเอาเองตามความหมายในวิกิพีเดีย IBL เป็นการเรียนแบบที่เรียกว่า Open Learning คือ ไม่มีคำถามและคำตอบตายตัว เป็นรูปแบบการเรียนที่ผู้เรียนได้ฝึกฝนความริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
              ทักษะการจัดการสอบ  การมีผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcome) สองด้านคู่ขนานคือ มีทั้งวิชาและทักษะนี้ เป็นเรื่องท้าทายมาก และจะไม่มีทางบรรลุได้ หากวงการศึกษายังสมาทานความเชื่อและวัฒนธรรมว่าด้วยการสอบแบบเดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ เน้นสอบเพื่อตัดสินได้-ตก
PLC สู่ TTLC หรือชุมชนครูเพื่อศิษย์ ซึ่งก็หมายถึงชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) วิชาชีพครู  ซึ่งก็คือการรวมตัวกัน “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.)” การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์นั่นเอง
                แรงต้านที่อาจต้องเผชิญ
                1.นโยบายการศึกษายังเป็นนโยบายสำหรับยุคอุตสาหกรรม
                2.ระบบตรวจสอบและระบบวัดผลแบบทดสอบตาม ที่เน้นวัดความสามารถด้านทักษะพื้นฐานเช่นการอ่าน การคิดเลข
                3.แรงเฉื่อยหรือความคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบครูบอกเนื้อหาวิชาให้นักเรียนจดจำ
                4.ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมพิมพ์จำหน่ายตำราเรียน
                5.ความหวั่นกลัวว่าความรู้เชิงทฤษฎีจะถูกละเลย หันไปให้ความสำคัญต่อทักษะมากเกินไป
                6.อิทธิพลของพ่อแม่ที่ยึดติดกับการเรียนแบบดั้งเดิมที่ตนเคยเรียนมาและทำให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน จึงอยากให้ลูกหลานได้เรียนตามแบบที่ตนเคยเรียน

สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
                1.ยกเลิกระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของครู (คศ.) ที่ใช้ในปัจจุบัน คือให้ “ทำผลงาน” ในกระดาษ และมีการติววิธีทำผลงาน
                2.มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของศิษย์ทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษา แล้วคณะครูและทุกฝ่ายช่วยกันดำเนินการ เน้นที่การมี PLC ระดับโรงเรียน ระดับเขตการศึกษา และระดับประเทศ
                 3.ปราบปรามคอรัปชั่นเรียกเงินในการบรรจุหรือโยกย้ายครูนี่เป็นความชั่วที่บ่อนทำลายระบบการศึกษาไทย
                4.แบ่งเงินลงทุนเพิ่มด้านการศึกษา ครึ่งหนึ่งไปไว้สนับสนุนการเรียนรู้ของครูประจำการในลักษณะการเรียนรู้ในการทำหน้าที่ครู
                5.จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปี ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เชิญครูที่มีผลงาน โรงเรียนที่มีผลงาน และเขตการศึกษาที่มีผลงาน มาเล่าแรงบันดาลใจ วิธีการ และวิธีเอาชนะอุปสรรค
                6.ยกระดับข้อสอบ National Education Test (NET) ให้ทดสอบการคิดที่ซับซ้อน (complex thinking) และทักษะที่ซับซ้อน (complex skills)
                7.ส่งเสริมการเรียนแบบ Project-Based Learning (PBL) โดยส่งเสริมให้มี PLC ของครูที่เน้นจัดการเรียนรู้แบบ PBL ให้รางวัลและยกย่องครูที่จัด PBL ได้เก่ง เพราะ PBL เป็นเครื่องมือให้นักเรียเรียนรู้ในมิติที่ลึกและซับซ้อน